ทำความรู้จัก SEO Keyword คืออะไร หา Keyword SEO ยังไง
เปิดกุญแจลับใช้ทำ SEO บนเว็บไซต์ คงหนีไม่พ้น คีย์เวิร์ด (Keyword Search) เพราะคีย์เวิร์ดถือเป็นตัวที่บ่งบอกให้เสิร์ชเอนจิ้นเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์ ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดอันดับในเวลาต่อมา ปัจจุบันการใช้ คำค้นหา (Keyword Search) สำหรับการทำ SEO ไม่ได้มีแค่เลือกคำค้นหาที่กลุ่มเป้าหมายเสิร์ชเยอะๆอย่างเดียวแล้ว แต่ยังนิยมใช้คำคีย์เวิร์ดรูปแบบอื่นๆมาใส่บนบทความอีกด้วย
ในบทความนี้เราจะพาทุกไปทำความรู้จักกับ SEO Keyword กันมากขึ้น พร้อมเทคนิคการหา keyword seo ที่น่าสนใจ สำหรับใครที่กำลังสนใจเรื่องการเว็บไซต์ให้ได้คุณภาพ ด้วยการทำ SEO ห้ามพลาดเลย
ทางลัดทำความรู้จัก SEO Keyword แต่ละแบบ
- คำค้นหาที่กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มใช้ (Search Intent Keywords) คือ
- คำค้นหาที่เกี่ยวกับข้อมูลสินค้าหรือบริการ (Informational Keywords) คือ
- คำค้นหาที่ระบุหน้าเว็บไซต์ (Navigational Keywords) คือ
- คำค้นหาเฉพาะเจาะจงแบรนด์ (Commercial Keywords) คือ
- คำค้นหาที่ต้องการเลือกซื้อของ (Transactional Keywords) คือ
- คำค้นหาหลัก (Primary Keywords) คือ
- คำค้นหารอง (Secondary Keywords) คือ
- คำค้นหาแบบกว้าง (Seed Keywords) คือ
- กลุ่มคำหรือวลีค้นหาที่เฉพาะเจาะจง (Long-tail Keywords) คือ
- คำค้นหาเกี่ยวกับแบรนด์เฉพาะเจาะจง (Niche Keywords) คือ
- คำค้นหาแฝงที่เกี่ยวกับคำค้นหาหลัก (LSI Keywords) คือ
- คำค้นหายอดนิยม (Evergreen Keywords) คือ
- คำค้นหาที่การแข่งขันต่ำ (Low-competition Keywords) คือ
- คำค้นหาชื่อแบรนด์ (Branded Keywords) คือ
- คำค้นหาของคู่แข่ง (Competitors' Keywords) คือ
- คำค้นหาสำหรับยิงโฆษณา (Google Ads Keywords) คือ
- คำค้นหาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับยิงแอด (Exact Match Keywords) คือ
- วลีที่เฉพาะเจาะจงสำหรับยิงแอด (Phrase Match Keywords) คือ
- คำค้นหาที่กว้างสำหรับยิงแอด (Broad Match Keywords) คือ
- คำที่ไม่เกี่ยวกับคำค้นหาหลัก (Negative Keywords) คือ
- คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ (Locational Keywords) คือ
- คำค้นหาเกี่ยวกับสินค้า (Product Keywords) คือ
Keyword มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEO และทำ SEM เพื่อปรับคุณภาพของเว็บไซต์ นอกเหนือจากการทำเนื้อหาหน้าเว็บให้มีข้อมูลที่น่าสนใจและข้อเท็จที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่สำคัญขึ้นอยู่กับเทคนิคการแทรกคีย์เวิร์ดเสิร์ชเข้าไปร่วมด้วย Keyword ที่นิยมใช้กันจะมีทั้งหมด 22 ประเภท ดังนี้
1. คำค้นหาที่กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มใช้ (Search Intent Keywords)
Search Intent Keywords คือคำค้นหาที่กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มใช้ในการค้นข้อมูลบนกูเกิ้ลและเป็นกลุ่มคำที่แสดงถึงเจตนาในการค้นหาต่างๆ วิธีการหา Keywords สามารถหาได้จาก- คำที่กลุ่มเป้าหมายตั้งคำถามและเสิร์ชหาข้อมูลบ่อยๆ เช่น How To , รวมวิธี , เคล็ดลับ และแชร์วิธี เป็นต้น
- คำที่เกี่ยวกับชื่อแบรนด์ ชื่อสินค้าและบริการ
- คำค้นหาที่เกี่ยวกับการซื้อ เช่น ส่วนลดพิเศษ , โปรโมชั่นพิเศษ , ชื่อสินค้า + ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
2. คำค้นหาที่เกี่ยวกับข้อมูลสินค้าหรือบริการ (Informational Keywords)
Informational Keywords คือคำค้นหาที่กลุ่มเป้าหมายใช้เสริช์เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของนั้นๆ คำคีย์เวิร์ดกลุ่มนี้ จัดเป็นคำที่ช่วยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์บนเว็บไซต์ได้ เพราะช่วยเพิ่ม Traffic และนำไปสู่ Lead ของแบรนด์ในเวลาต่อมา มักนิยมมาใช้ในบทความ Blog เป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลลูกค้าเกี่ยวผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์ตัวอย่างคำ Informational Keywords ในธุรกิตคลินิคเสริมความงาม
- โบท็อกซ์ 100 ยูทําอะไรได้บ้าง
- การฉีดโบท็อกซ์ เห็นผลกี่วัน
- ฉีดโบท็อกครั้งละกี่บาท
- โบท็อกซ์ อยู่ได้นานแค่ไหน
3. คำค้นหาที่ระบุหน้าเว็บไซต์ (Navigational Keywords)
กลุ่มเป้าหมายบางคน มักนิยมใช้คำค้นหาที่เกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์หรือเว็บแบรนด์ เอาไว้หาข้อมูลด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่มีส่วนประกอบของเว็บไซต์ร่วมด้วย เช่น- บริการของเรา + ชื่อแบรนด์
- ช่องทางการติดต่อ + ชื่อแบรนด์
- บทความ Blog
ข้อดีของการใช้คีย์เวิร์ดเหล่านี้บนหน้าเว็บ จะช่วยเพิ่มยอดการเข้าชมเว็บไซต์แบบออแกนิคได้ (Organic Traffic)
4. คำค้นหาเฉพาะเจาะจงแบรนด์ (Commercial Keywords)
Commercial Keywords คือคีย์เวิร์ดที่ใช้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ ซึ่งอยู่ใน Stage ที่กลุ่มเป้าหมายมีความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าหรือช่วงที่หาข้อมูลเพื่อเช็กรีวิวและดูส่วนลดโปรโมชั่นก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเทียบจากแบรนด์อื่นๆ ตัวอย่างคำ Commercial Keywords ได้แก่- ชื่อแบรนด์ + ราคา
- ชื่อแบรนด์ที่ต้องการซื้อ VS ชื่อแบรนด์อื่นๆ + แบบไหนดีกว่ากัน (ที่ต้องการเทียบราคา คุณภาพ)
- ส่วนลด โปรโมชั่น + ชื่อแบรนด์
- รีวิว + ชื่อแบรนด์
5. คำค้นหาที่ต้องการเลือกซื้อของ (Transactional Keywords)
Transactional Keywords คือคีย์เวิร์ดที่ใช้ค้นหาข้อมูลของแบรนด์ซึ่งอยู่ใน Stage ที่กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจแล้วว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการชิ้นนั้นอย่างแน่นอน คีย์เวิร์ด Transactional Keywords ได้แก่- ซื้อ + ชื่อแบรนด์
- ซื้อ + ชื่อแบรนด์ + ที่ไหนดี
- ชื่อแบรนด์ + ใกล้ฉัน
Transactional Keywords มักนิยมนำมาใช้ในการยิงโฆษณาบนเว็บไซต์ เพราะมีแนวโน้มที่ลูกค้าจะซื้อสินค้า/บริการชิ้นนั้นสูง
6. คำค้นหาหลัก (Primary Keywords)
Primary Keywords คือคำค้นหาหลักของหน้าเว็บไซต์หรือบทความ โดยจะรวบรวมใจความสำคัญของหน้าเว็บนั้นๆ ปกติแล้ว Primary Keywords จะคัดจากจำนวนเสิร์ชต่อเดือนสูง Primary Keywords จะเอามาใช้สอดแทรกผ่านเนื้อหาบนเว็บเวลาทำ SEO นั้นเอง วิธีดูว่าคำค้นหาเป็น Primary Keywords หรือไม่ จะเช็กจาก
- จำนวนคำค้นหาต่อเดือน (Search volume): จำนวนคำค้นหาต่อเดือนสูงหรือไม่
- ความตั้งใจค้นหา (Search Intent): คอนเทนต์ยอดนิยมมีคำค้นหาหาเหล่านี้หรือไม่
- ความเกี่ยวข้องของเว็บไซต์ (Business relevance): คำค้นหาเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการหน้าเว็บหรือไม่
7. คำค้นหารอง (Secondary Keywords)
Secondary Keywords คือคำค้นหารองที่ความหมายใกล้เคียงกับคำค้นหาหลัก Secondary Keywords มักจะถูกนำมาใช้ในส่วนเนื้อหาของบทความ เช็กคำค้นหาเป็น Primary Keywords หรือไม่ สามารถดูได้จาก
- กลุ่มคำหรือวลีสั้นที่ความหมายใกล้เคียงกับ Primary Keywords
กลุ่มคำหรือวลีที่มักจะขึ้นมากให้ Related Search และคำค้นหาอื่นๆ ที่ปรากฎบนหน้าผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิ้น
8. คำค้นหาแบบกว้าง (Seed Keywords)
Seed Keywords คือกลุ่มคำหรือวลีที่เกี่ยวกับหัวข้อบทความ หรือสินค้าและบริการแบบกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจง Seed Keywords มักนำมาใช้ในหัวข้อบทความตำแหน่ง H2 , H3 และ H4 เป็นต้นไป
เราสามารถคัด Seed Keywords ผ่านเทคนิคการระดมไอเดียในมุมมองต่างๆ ยกตัวอย่างการหาSeed Keywords หัวข้อบทความเกี่ยวกับแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้า ได้แก่
- เทรนด์แฟชั่นที่กำลังจะมา
- ไอเดียการแต่งตัว + แบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้า
9. กลุ่มคำหรือวลีค้นหาที่เฉพาะเจาะจง (Long-tail Keywords)
Long-tail keywords คือกลุ่มคำหรือวลีที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการหาข้อมูล โดยปกติแล้ว Long-tail keywords จะมีจำนวนคำค้นหาต่อเดือนน้อยกว่ายอดของ Primary Keywords และยังเป็นคำที่มีการแข่งขันต่ำอีกด้วย
วิธีค้นหา Long-tail keywords ดูได้จาก
- ข้อความค้นหาที่อยู่บนหน้า Google Search Console
- คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง (Related Search) และคำค้นหาอื่นๆ ที่ปรากฎบนหน้าผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิ้น
- คำค้นหาที่เว็บไซต์คู่แข่งเลือกใช้
10. คำค้นหาเกี่ยวกับแบรนด์เฉพาะเจาะจง (Niche Keywords)
Niche Keywords คือคำค้นหาเกี่ยวกับแบรนด์ สินค้าที่มีความเฉพาะเจาะจง เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น Niche Keywords ส่วนใหญ่มักจะมียอดการค้นหาต่อเดือนน้อย มีการแข่งขันคำที่ต่ำและมีความ Technical สูงกว่าคำอื่นๆ เหมาะกับการทำเนื้อหาเว็บไซต์ บทความที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
วิธีค้นหา Niche Keywords เช็กได้จาก
- ช่องทาง Social Media และกลุ่มของ Social Media ต่างๆ
- สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านนั้นๆ
- เครื่องมือค้นหา Keyword คัดเลือกจาก Long-tail keywords
11. คำค้นหาแฝงที่เกี่ยวกับคำค้นหาหลัก (LSI Keywords)
Latent Semantic Indexing (LSI) คือคำค้นหาที่มีความหมายใกล้เคียงและเกี่ยวข้องกับคำค้นหาหลัก คำค้นหาแฝง เพียงแต่เขียนไม่เหมือนกัน มักจะมาใช้ในบริบทของบทความที่ต้องการขยายความจากคีย์เวิร์ดหลัก
ยกตัวอย่าง Latent Semantic Indexing (LSI) ของคำค้นหาหลัก ชาไทย
- ใบชา
- ชาไทย ชาเย็น
- ชาไทย วิธีชง
12. คำค้นหายอดนิยม (Evergreen Keywords)
Evergreen Keywords คือคีย์เวิร์ดยอดนิยมที่ยังมีความสดใหม่อยู่เสมอและกลุ่มเป้าหมายยังสนใจ อยากกลับมาอ่านอยู่เรื่อยๆ หากคุณสนใจค้นหา Evergreen Keywords สามารถหาได้จาก Google Trend เพื่อเช็กเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายมองหา
ตัวอย่าง Evergreen Keywords ได้แก่
- รวมวิธี
- อัพเดตความรู้
- แชร์เคล็ดลับ
- แจกเทคนิค
13. คำค้นหาที่การแข่งขันต่ำ (Low-competition Keywords)
Low-competition Keywords คือคำค้นหาที่มีการแข่งขันของคำต่ำ มีจำนวนคำค้นหาต่อเดือนไม่สูงมาก และมีความหมายใกล้เคียงกับ Primary Keywords คำค้นหา Low-competition Keywords จะเหมาะกับการนำไปใช้ในเว็บไซต์ที่เพิ่งเปิดใหม่ โดยต้องการให้คียเวิร์ดติดหน้าเว็บแบบ Organic
14. คำค้นหาชื่อแบรนด์ (Branded Keywords)
Branded Keywords คือคำค้นหาเกี่ยวกับแบรนด์สินค้า ชื่อแบรนด์ หรือชื่อบริการ Branded Keywords มักจะอยู่ใน Stage สุดท้ายก่อนที่ลูกค้าจะซื้อสินค้า เพราะเมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าแล้ว พวกเขามักจะหาข้อมูลเจาะจงไปในแบรนด์นั้นๆโดยเฉพาะ
15. คำค้นหาของคู่แข่ง (Competitors' Keywords)
Competitors' Keywords คือคำค้นหาที่คู่แข่งใช้เวลาทำ Website Marketing ทั้งทำ SEO และทำ SEM วิธีหา Competitors' Keywords สามารถค้นได้จาก
- หาค้นหาที่กลุ่มเป้าหมายเลือกใช้
- ดูจากหัวข้อคอนเทนต์และ Meta ของหน้าเว็บไซต์คู่แข่ง
- ใช้เครื่องมือ SEO Tool ในการหาคำค้นหาของหน้าเว็บไซต์คู่แข่ง
16. คำค้นหาสำหรับยิงโฆษณา (Google Ads Keywords)
Google Ads Keywords คือคำค้นหาที่ใช้ในการยิงแอดโฆษณาบนเว็บไซต์ วิธีการหา Google Ads Keywords จะใช้เครื่องมือ Googles Keyword Planner ในการคัดเลือกคำ สิ่งสำคัญคือ ควรเลือกคำที่ตรงกับเจตนาในการหาข้อมูล เป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายที่พบค้นเป็นอันดับแรกและตรงกับเนื้อหาเว็บไซต์แลนด์ดิ้งเพจ
17. คำค้นหาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับยิงแอด (Exact Match Keywords)
Exact Match Keywords คือคำค้นหาเฉพาะเจาะจงสำหรับยิงแอด หากใช้คำค้นหาประเภท Exact Match Keywords การแสดงผลบนหน้าคำค้นหาโฆษณาจะขึ้นคำเหล่านี้แบบตรงความหมายทันที ข้อเสียของการใช้คำเหล่านี้ อาจมีความหมายแคบเกินไป ทำให้อาจจะเจาะได้เฉพาะบางคนได้เท่านั้น เว้นแต่ว่าคุณเลือกใช้คำที่แม่นยำตรงกับสิ่งที่คนค้นหาอย่างแท้จริง
18. วลีที่เฉพาะเจาะจงสำหรับยิงแอด (Phrase Match Keywords)
Phrase Match Keywords คือวลีหรือรูปแบบประโยคสำหรับยิงแอด หากใช้คำค้นหาประเภท Phrase Match Keywords การแสดงผลบนหน้าคำค้นหาโฆษณาจะขึ้นคำเหล่านี้กว้างขึ้นและครอบคลุมที่ลูกค้าค้นหาแบบความหมายแฝง
ยกตัวอย่างคำ Phrase Match Keywords ของสินค้ารองเท้าผู้ชาย
- รองเท้าผู้ชายราคาถูก
- ซื้อรองเท้าผ้าใบผู้ชาย
- ซื้อรองเท้าผู้ชาย ลดราคา ที่ไหน
19. คำค้นหาที่กว้างสำหรับยิงแอด (Broad Match Keywords)
Broad Match Keywords คือคำค้นหาที่กว้างสำหรับยิงแอด หากใช้คำค้นหาประเภท Broad Match Keywords ซื้อโฆษณา หน้าผลแสดงคำค้นหาที่จะทั้งคำที่มีความหมายตรงและคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน การใช้คำในลักษณะนี้จะช่วยให้การยิงโฆษณาแสดงผลมากขึ้น
20. คำที่ไม่เกี่ยวกับคำค้นหาหลัก (Negative Keywords)
Negative Keywords คือคำค้นหาที่ไม่เกี่ยวกับคำค้นหาหลัก ใช้สำหรับยิงโฆษณา โดยคนที่ยิงโฆษณาจะกำหนดไม่ให้คำที่ไม่เกี่ยวข้องเหล่านี้ แสดงผลบนหน้าการค้นหาที่ไม่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์จริงๆ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณขายสินค้ารองเท้าราคาแพง Negative Keywords ที่จะไม่ใส่ในการยิงแอด ได้แก่ รองเท้าผ้าใบราคาถูก , ราคาผู้ชายราคา 100 - 500 บาท และ รองเท้าผ้าใบไม่แพง เป็นต้น
21. คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ (Locational Keywords)
Locational Keywords คือคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ต่างๆ เป็นคำค้นหาที่เฉพาะเจาะจงในพื้นที่ เหมาะกับการทำ SEO และ SEM สำหรับร้านค้า หรือบริการที่มีหน้าร้าน ซึ่งลูกค้าจะต้องเข้าไปรับบริการที่หน้าร้าน เช่น คลินิคทำจมูก ใกล้ฉัน , ร้านกาแฟ ปทุมธานี , จัดฟัน พัทยา เป็นต้น
22. คำค้นหาเกี่ยวกับสินค้า (Product Keywords)
Product Keywords คือคำค้นหาที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของแบรนด์ รวมไปถึงชื่อแบรนด์ด้วย โดย Product Keywords จะเหมาะกับการใช้ทำคำบรรยายสินค้าของหน้าเว็บไซต์ E-commerce โดยคุณสามารถสอดแทรกคำค้นหาเกี่ยวกับสินค้าของแบรนด์เพิ่มเข้าไปได้
การเลือกใช้ SEO Keyword แต่ละแบบจะเหมาะกับหน้าเว็บไซต์ธุรกิจไม่เหมือนกัน ไม่จำเป็นที่คุณจะต้องใช้คีย์เวิร์ดทั้ง 22 แบบนี้ทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการใช้ที่ตอบโจทย์ Costomer Journey แต่ละช่วงและควรแยกให้ออกก่อนว่า หน้าเว็บไซต์ที่ใช้งานเน้นการขายสินค้า หรือเน้นให้ข้อมูลลูกค้า เทคนิคนี้จะช่วยให้คุณเลือกคีย์เวิร์ดที่ใช้แม่นยำขึ้น
หากคุณสนใจทำบทความ SEO ปรึกษาเรื่องบริการรับเขียนบทความ ปรับแต่งบทความ SEO คุณภาพสูง รับคำปรึกษาเพิ่มเติมกับเราได้ที่นี่