แนะนำวิธีวัดประสิทธิภาพคอนเทนต์บน Tiktok 2024
Tiktok เป็นอีกหนึ่งโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่กำลังนิยมทั่วโลก ด้วยอัลกอริทึมที่คอยผลักดันคอนเทนต์แบบ Organic ให้มียอดพุ่งทะยานขึ้นได้ง่าย ทำให้หลังจากแอปพลิเคชั่นนี้เปิดตัวได้ไม่นาน ก็มียอดผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ จุดเด่นของ Tiktok อยู่ตรงที่ระบบ AI ที่คอยคัดสรรคอนเทนต์ได้ตรงความสนใจกับผู้ใช้งานมากที่สุด แถมยังเปิดพื้นที่ให้เหล่า Creator ได้แสดงตัวตนและทักษะหลากหลายแแบบ
เลือกหัวข้อที่คุณสนใจอ่านได้ที่นี่
- ทำไมถึงต้องรู้จัก Tiktok Metric
- รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Tiktok Metric ที่ต้องรู้ 2024
- ยอดผู้ติดตาม (Follower) คืออะไร
- แฮชแท็กที่เกี่ยวข้อง (Relevant Hashtags) คืออะไร
- อัตราการมีส่วนร่วม (Engagement Rate) คืออะไร
- จำนวนคนทำคอนเทนต์แบบ UGC คืออะไร
- จำนวนการเข้าถึงของโพส คืออะไร
- อัตราคนดูวิดีโอจนจบ (Video Completion Rated) คืออะไร
- Metric ของไลฟ์ VDO คืออะไร
- ยอดการชมวิดีโอ (Video Views) คืออะไร
- ระยะการรับชมเฉลี่ย (Average Watch Time) คืออะไร
สำหรับบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเรื่อง Metric ในการวัดผลคอนเทนต์ใน Tiktok พร้อมเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล Data หลังบ้านที่สามารถเอาไปใช้ในการวางแผนคอนเทนต์บน Tiktok ได้ หวังว่าจะทำให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดทุกคนได้เอาไปใช้สำหรับ Tiktok business กันนะ!
ทำไมถึงต้องรู้จัก Tiktok Metric
การที่คุณรู้จัก Tiktok Metric มากขึ้น จะมีประโยชน์อย่างมากเวลาคุณเอามาใช้วางแผนทำคลิปบน Tiktok ครั้งต่อไป รวมถึงการวางแผนยิงโฆษณาด้วย เพราะอย่างน้อยข้อมูลหลังบ้าน จะช่วยให้คุณรู้ว่าลูกค้า ผู้ชมชอบคอนเทนต์สไตล์ไหนมากกว่ากัน
สำหรับแพลตฟอร์ม Tiktok ที่นำเสนอคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอ แน่นอนว่าตัวเลขที่ใช้วัดผลคอนเทนต์หลักๆ ได้แก่ ยอดผู้ชม (View) ยอดแฮชแท็ก (Hashtag) ยอดเอนเกจ (Engagemen) และยอดการเช้าชมลิงก์ (Traffic) ข้อมูลเหล่านี้สามารถเอาไปใช้วางแผนหัวข้อมคอนเทนต์ครั้งหน้าได้
เหตุผลหลักที่คุณควรเอาค่า Metric เป็นตัวตั้งในการทำคลิปครั้งต่อไป เพราะว่า ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้สำหรับประเมินผลเยอด Metric ครั้งต่อไปได้ (เป้าหมายที่ไม่เว่อร์เกินจริงและมีแนวโน้มที่คุณจะทำได้) อีกครั้งเมื่อนำผลลัพธ์คอนเทนต์แต่ละครั้งมาพิจารณาดูอีกรอบ บางทีอาจจะทำให้คุณรู้ว่า ปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้คลิปไม่มียอดวิวสูง แล้วคลิปครั้งหน้าจะแก้ไขอย่างไรให้ดีขึ้น
รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Tiktok Metric ที่ต้องรู้ 2024
หลังจากที่เรารู้เกี่ยวกับความสำคัญของ Tiktok Metric กันไปแล้ว คำถามต่อมาคือ ถ้า Objective การทำคอนเทนต์แต่ละครั้ง มีหลายแบบ เรารู้ได้ยังไงว่า ควรหยิบ Tiktok Metric แบบไหนมาวัดผลลัพธ์การทำคอนเทนต์ พาร์ทนี้มาคำตอบ
1. ยอดผู้ติดตาม (Follower)
จำนวนผู้ติดตาม (Follower) เป็นหนึ่งเป็นปัจจัยหลักที่บอกว่าช่อง Tiktok คุณดังมากแค่ไหน อีกทั้งจำนวนผู้ติดตามที่เพิ่มขึ้นใหม่แต่ละช่วงเวลา ยังบ่งบอกถึงอัตราการเติบโตของช่องได้ จะช่วยให้คุณประมาณการ์ณได้ว่า อีกสัปดาห์ อีกเดือนช่องจะมีผู้ติดตามเพิ่มกี่คน
วิธีวัดอัตราการเติบโตของช่อง = จำนวนผู้ติดตาม ณ ระยะเวลาที่คุณกำหนดไว้/จำนวนผู้ติดตามเดิม x 100
2. แฮชแท็กที่เกี่ยวข้อง (Relevant Hashtags)
แฮชแท็ก (Hashtags) เป็นคีย์สำคัญที่ช่วยให้คลิปได้รับการมองเห็นมากขึ้นใน Tiktok เพราะ AI ของติ้กตอกจะคัดเอาคีย์เวิร์ดในแฮชแท็ก (Hashtags) มาดันให้คลิปมียอดวิวที่ตรงกับคำเสิร์ชของผู้ใช้งาน
หากคุณอยากลองทริคแฮชแท็ก (Hashtags) แล้วเห็นผลเร็ว แนะนำให้เลือกใส่แฮชแท็ก (Hashtags) ที่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงเวลานั้นๆดู หรือ Trending Hashtags เป็นต้น นอกจากคุณยังสามารถสร้างแฮชแท็ก (Hashtags) ให้คนลองใช้ตามได้เป็น Challenge คอนเทนต์นั้นเอง
วิธีเช็กประสิทธิภาพคอนเทนต์ สามารถดูได้จาก จำนวนแฮชแท็ก (Hashtags) ที่คนใช้ตามคุณ ถือเป็นตัวบ่งบอกว่าช่องของคุณได้รับความนิยมอย่างไร อย่างไรก็ดี วิธีวัดแบบนี้จะใช้ได้เฉพาะ แคมเปญแฮชแท็ก (Hashtags) ที่คุณตั้งขึ้นเองเท่านั้นนะ
3. อัตราการมีส่วนร่วม (Engagement Rate)
อัตราการมีส่วน (Engagement rate) คือผลรวมของตัวเลขจากยอดไลค์ ยอดแชร์และยอดคอมเมนต์ นอกจากนี้ จำนวนของคอมเมนต์ในโพสยังบ่งบอกถึงการมีส่วนร่วมของลูกเพจที่เหนี่ยวแน่นอีกด้วย ขณะที่ยอดไลค์ บ่งบอกว่ามีคนชอบคอนเทนต์สไตล์นี้หรือไม่ และยอดแชร์ บ่งบอกว่าคอนเทนต์มีอิทธิพลกับผู้ติดตามหรือไม่
วิธีการคำนวนอัตราการมีส่วนร่วม = ผลรวมของตัวเลขจากยอดไลค์ ยอดแชร์และยอดคอมเมนต์/จำนวนผู้ติดตามปัจจุบัน x 100
4. จำนวนคนทำคอนเทนต์แบบ UGC
คอนเทนต์แบบ user-generated content หรือ UGC เป็นคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นจากลูกค้าจริง แล้วกลายเป็นไวรอลจนคนทำตาม คอนเทนต์แบบ UGC ไม่ได้มีสไตล์เฉพาะเจาะจง สามารถครีเอทได้หลายแนวใน Tiktok เช่น คอนเทนต์ Dude ร้องเพลงคู่ คอนเทนต์ Feature สถานการณ์ที่น่าสนใจต่างๆ
จำนวนคนทำคลิป UGC คู่กับคลิปเดิมของเจ้าของช่อง บ่งบอกได้ว่าคลิปของคุณได้รับการมองเห็นในวงกว้างมากขึ้น
5. จำนวนการเข้าถึงของโพส
อัตราการมองเห็นของโพส (Reach) คือจำนวนครั้งของการเห็นโพสในระยะเวลาหนึ่ง ยิ่งจำนวนการมองเห็นของโพส (Reach) มากขึ้นเท่าไหร่ แสดงว่า มีคนเห็นคลิปของคุณเพิ่มมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน ถ้ายอดการมองเห็นของโพส (Reach) ลดน้อยลง นั่นหมายความว่า คุณควรปรับกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้ามากขึ้นได้แล้ว
เราจะเช็กอัตราการมองเห็นของโพส (Reach) ได้อย่างไร เรื่องนี้แนะนำให้คุณดูที่ผล Insight หลังบ้านดู
อัตราการมองเห็นของโพส (Reach) = ยอดการมองเห็นของโพส/จำนวนผู้ติดตาม x 100
6. อัตราคนดูวิดีโอจนจบ (Video Completion Rated)
อัตราคนดูวิดีโอจนจบ (Video Completion Rated) เป็นอัตราของผู้รับชมวิดีโอตั้งแต่ต้นคลิปจนจบคลิป ยิ่งมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นมากเท่าไหร่ แสดงว่าคลิปของคุณมีโอกาสเป็นไวรัลมากขึ้นเท่านั้น หากเป็นคลิปอัตราการดูวิดีโอ ควรอยู่ที่อย่างน้อย 50% หากเป็นคลิปสั้นอัตราการดูวิดีโอ ควรอยู่ที่อย่างน้อย 90%
วิธีการคำนวนอัตราการชมวิดีโอ (Video Completion Rated) = จำนวนคนที่ดูคลิป (คลิกวิดีโอ) x 100
7. Metric ของไลฟ์ VDO
TikTok Live อีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้เหล่าครีเอทเตอร์ได้เชื่อมต่อกับผู้ติดตามมากขึ้นและยังเพิ่มโอกาสให้ช่องของคุณได้มียอดผู้ติดตามสูงขึ้นอีกเช่นกัน สำหรับ Metric ที่จะใช้วัดประสิทธิภาพของ Live ยอดการมองเห็นของผู้ชมในการแต่ครั้งนั้นเอง (View)
8. ยอดการชมวิดีโอ (Video Views)
ข้อดีของแพลตฟอร์มติ้กต๊อก คือ หากคุณโพสคลิปแล้ว ช่องโตสูงมากขึ้น แต่ละคลิปได้รับการมองเห็น ยอดวิว (Video Views) อาจสูงขึ้นกว่าจำนวนผู้ติดตามได้เหมือน เพราะแพลตฟอร์มติ้กต๊อก จะผลักดันคลิปให้ผู้ที่มีความสนใจตรงกันเป็นหลัก
สำหรับ Benchmarks ในการวัดยอดวิวบนติ๊กต๊อก ได้แก่:
แคปชั่นวิดีโอที่มีคำน้อยกว่า 10 คำ ยอดวิว (Video Views) จะอยู่ที่ประมาณ 11% ขณะที่ แคปชั่นวิดีโอที่มีคำประมาณ 25 - 30 คำ ยอดวิว (Video Views) จะอยู่ที่ประมาณ 6%
9. ระยะการรับชมเฉลี่ย (Average Watch Time)
ระยะการรับชมเฉลี่ย (Average Watch Time) เป็นระยะเวลาการรับชมต่อคลิปของผู้รับชมต่อ 1 คน ถ้าระยะการรับชมเฉลี่ย (Average Watch Time) น้อยกว่าคลิปอื่นๆ ของคุณ นั่นหมายความว่า คอนเทนต์ของคุณต้องถึงเวลาปรับสไตล์คอนเทนต์แล้ว
สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ สนใจทำคอนเทนต์ TikTok มองหาผู้ช่วยในการวางแผนและคิดสไตล์คอนเทนต์ให้น่าสนใจ เพิ่มยอดติดตาม ทีมงานของ GoOn Content ช่วยคุณได้นะ